email:info@marichplan.com
mobile:0987594559

แหล่งรวม ข่าวสาร ความรู้ แนวคิด
เกี่ยวกับการวางแผนชีวิต
วางแผนการเงิน

No29 : เราควรทำประกันอะไรบ้าง ?

ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอน คือ ความแน่นอน อ่านแล้วก็งง นอนเลยดีกว่า zzz เอ๊ยยย เพราะชีวิตเราเต็มไปด้วยความเสี่ยง งวดนี้เราจะถูกหวยมั๊ย วันนี้หุ้นจะขึ้นหรือจะลง ขับรถอยู่ดีๆ ก็มีมอเตอร์ไซต์มาชน วันนี้มีปาร์ตี้หมูกระทะ พรุ่งนี้อาหารเป็นพิษ ฯลฯ เค้าบอกๆ กันว่า ให้ทำประกันป้องกันความเสี่ยง เสี่ยงเต็มไปหมดเลยแบบนี้ แล้วเราจะต้องทำประกันอะไรกันบ้าง เรามาแยกประเภทความเสี่ยงก่อนนะคะ ความเสี่ยงประเภท “งวดนี้เราจะถูกหวยมั๊ย”, “วันนี้หุ้นจะขึ้นหรือจะลง” เราเรียกว่า ความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Speculative Risk) เป็นความเสี่ยงที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีทั้งเราได้ เราเสมอตัว หรือเราเสียหาย แบบนี้เราเป็นคงเอาตัวเข้าไปเสี่ยงเอง (เราไปซื้อหวยเอง) เราก็ต้องรับความเสี่ยงเอง ไม่สามารถทำประกันได้ค่ะ (ถ้ามีประกันที่จ่ายค่าปลอบใจให้กุ๋งกิ๋งเวลาที่ไม่ถูกหวย กุ๋งกิ๋งคงรวยไปแล้ว ) ความเสี่ยงประเภท “ขับรถอยู่ดีๆ ก็มีมอเตอร์ไซต์มาชน”, “วันนี้มีปาร์ตี้หมูกระทะ พรุ่งนี้อาหารเป็นพิษ” เราเรียกว่า ความเสี่ยงที่แท้จริง (Pure Risk) เป็นความเสี่ยงที่เราไม่มีทางได้รับประโยชน์จากเหตุที่เกิดขึ้น (การถูกมอเตอร์ไซต์ชน, อาหารเป็นพิษ) มีแค่เสียหาย หรือไม่เสียหาย...

No23 : เราไม่ซื้อประกัน ได้มั๊ย ?

กิ๋งเคยเป็นคนนึงค่ะ ที่ไม่ลังเลเลยที่จะซื้อกองทุนรวม LTF RMF เล่นหุ้น ซื้อทุกอย่างที่มีคนเสนอให้ แต่พอมีคนเสนอสินค้า ประกัน ให้ กิ๋งกลับเสียดายเงิน ยังไงๆ ก็ไม่ซื้อ รู้สึกว่าเราจะเสียเงินทิ้งไปเฉยๆ การซื้อประกันครั้งแรกของกิ๋ง คือประกันสะสมทรัพย์ เพื่อลดหย่อนภาษีเท่านั้น นึกดูแล้วก็ไม่แปลกค่ะ เพราะสินค้าอื่นๆ ที่เราซื้อ เราซื้อด้วยความรู้สึกที่ว่า เงินมันจะโตขึ้น เราจะรวยขึ้น แล้วประกันหล่ะ ? ประกัน เป็นสินค้าที่แปลก มีเสน่ห์ น่าค้นหาที่สุดในบรรดาสินค้าการเงินทั้งหมดเลยค่ะ เป็นสินค้าที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้ และจะไม่มีทางหายไปจากโลกนี้แน่นอน เพราะประกันมีหน้าที่พิเศษ ประกันไม่ได้ทำให้เรารวยขึ้น แต่หน้าที่ของประกันคือ การป้องกันไม่ให้เราจนลง เมื่อประกันไม่ได้อยู่ในหมวดที่จะทำให้เรารวยขึ้น พวกเราส่วนใหญ่ จึงมองข้ามสินค้าสำคัญที่เป็นฐานพีระมิดของเราตัวนี้ไป แล้วไปเติมยอดพีระมิดก่อน โดยที่ฐานยังไม่แข็งแรง เรามักมองประกันเป็นค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า ไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องซื้อประกัน ได้มั๊ย ? ได้แน่นอนค่ะ ถ้าเรารับความเสียหายที่มันอาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเรามีรถ แต่ยังไม่ซื้อประกันรถ วันนึงรถชน เรามีเงินจ่ายค่าซ่อมรถให้ทั้งรถเราเอง และคู่กรณี ถ้าเรามีบ้าน แต่ยังไม่ซื้อประกันอัคคีภัย วันนึงเกิดไฟไหม้ เรามีเงินไปเช่าโรงแรมอยู่ชั่วคราว...

ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่ ?

ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา ไม่มียุคไหนที่กิ๋งรู้สึกว่า เงินสำรอง มีความสำคัญและจำเป็นสุดๆ จริงๆ เท่าช่วงเวลายุค covid นี้เลยค่ะ (กิ๋งยังไม่ได้สูงวัยมาก เลยยังไม่ได้เคยผ่านช่วงสงครามโลก) เงินสำรองฉุกเฉิน คือเงินก้อนแรกที่เราต้องมี !! ตามตำราที่สอนๆ กันมา จะบอกให้พวกเราเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้เท่ากับ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย เหตุผลที่ตำราเขียนไว้ 3-6 เท่า เพราะเวลาเฉลี่ยของการขาดรายได้ของเราปกติ จะอยู่แค่ประมาณนี้ หมายความว่า ถ้าเกิดตกงาน ปกติพวกเราก็จะหางานใหม่กันได้ ภายใน 3 เดือน 6 เดือนไม่เกินนี้ เงินจำนวนนี้เลยเพียงพอให้ใช้ดำเนินชีวิตต่อไปก่อนได้ ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร และเนื่องจากว่ามันคือ เงินฉุกเฉิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วค่ะว่า มันด่วน เพราะฉะนั้น เงินส่วนนี้ จำเป็นต้องเก็บอยู่ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถดึงออกมาใช้ได้ภายใน 1-2 วัน ไม่เกินนี้ เช่น บัญชีเงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน แหล่งเก็บเงินสภาพคล่องสูงนี้ แน่นอนว่าจะได้ผลตอบแทนต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ตามตำราจึงไม่แนะนำให้เราเก็บเงินส่วนนี้มากเกินไป เรียกว่าเป็น lazy money คือเงินขี้เกียจ เงินขี้เกียจทำงาน...

พีระมิดทางการเงิน

วันนี้มาเที่ยวดูพีระมิดกันค่ะ แต่ไม่ต้องไปถึงอียิปต์นะคะ วันนี้เรามาเที่ยวชมพีระมิดทางการเงินกันค่ะ พีระมิดทางการเงิน Financial Pyramid เป็นสิ่งที่บอกลำดับความสำคัญ ว่าเราควรจะทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในการวางแผนการเงิน สิ่งที่ทำให้พีระมิด ตั้งอยู่ยั้งยืนยงมาได้กว่า 4,000 ปี ก็คือ รากฐานที่แข็งแรง การวางแผนการเงินก็เช่นกัน การเงินของเราจะมั่นคงแข็งแรงได้ เราต้องไล่ลำดับก่อร่างสร้างไปตาม step จากฐานพีระมิดขึ้นไป จะมาสร้างยอดในอากาศก่อนไม่ได้ !! พีระมิดทางการเงิน เรียงลำดับจาก ฐาน -> ยอด แบ่งเป็น 3 ชั้นได้ตามนี้ค่ะ ฐานราก Risk Management : คือส่วนของเงินสำรองฉุกเฉิน และการปกป้องทรัพย์สินของเราจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ชั้นกลาง Wealth Accumulation : คือส่วนของการสะสมทรัพย์สิน เพื่อความต้องการ ตามเป้าหมายที่จำเป็นของเรา (Need) เช่น เพื่อซื้อบ้าน เป้าเกษียณ ส่งลูกเรียน ส่วนยอดพีระมิด Wealth Preservation and Distirbution :...

มาตั้งเป้าหมายการเงินกัน

เราทุกคนคุ้นเคยกับการตั้งเป้าหมายของตัวเองกันอยู่แล้วนะคะ New Year Resolution ปีนี้เราจะผอม เราจะออกกำลังกาย เราจะแต่งงาน เราจะซื้อรถใหม่….. บลาๆๆ แล้วเราได้เคยตั้งเป้าหมาย เงิน ของเรากันรึยังคะ ? อันนี้ไม่ใช่ การตั้งว่าเราจะมีเงิน เท่านั้น เท่านี้ นะคะ เพราะการมีเงินลอยๆ มันก็ไม่ได้มีความหมายอะไร การตั้งเป้าหมายการเงิน ก็คือการตั้งเป้าหมายสิ่งที่เราอยากได้ในชีวิตนั่นแหละค่ะ แต่ขอให้ลงรายละเอียดต่อไปว่า สิ่งนั้นที่เราต้องการ มันต้องใช้เงินเท่าไหร่เพื่อให้ได้มา ตัวอย่างเป้าหมาย เป้าหมายปีนี้ จะลดน้ำหนัก ลงให้เหลือ 50 กิโล -> จะไปสมัครสมาชิกฟิตเนส ค่าสมาชิกเดือนละ 2,000 จะซื้อรถใหม่ -> ใช้เงินดาวน์ 200,000 อยากได้ตอนช่วงปลายๆ ปีให้ตกรุ่นแล้วราคาลง จะต้องพูด Eng ให้คล่องๆ -> หาคอร์สเรียนออนไลน์ กะงบเรียนไว้ 10,000 ต่อเดือน เป้าหมายช่วง 5 ปีข้างหน้า ตะลุยเที่ยวให้หายอยาก -> ปีละ...